วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557

งานที่ 3 : ศัพท์คอมพิวเตอร์ที่ควรรู้


1. Browser  : คือเครื่องมือที่ช่วยให้คุณสามารถท่องเที่ยวไปในโลกอินเตอร์เน็ตได้อย่างไร้ขีดกั้นทางด้านพรมแดน นอกจากนี้ Browser ยังช่วยอำนวยความสะดวกในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่างๆ หน้าตาของ browser จะแตกต่างกันไปตามแต่การออกแบบการใช้งานของโปรแกรมแต่ละค่าย ซึ่งที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่ Internet Explorer, Google Chrome, Mozilla FireFox และ Safari
2. Chat : คือการพูดคุยออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยอาจใช้โปรแกรมแตกต่างกันไปค่ะ เช่น MSN, Google talk, Yahoo Messenger, Skype
3. Diskette : เป็นตัวกลางเก็บข้อมูลที่เคลื่อนย้ายได้และเข้าถึงแบบสุ่มที่สามารถใช้ภายใน เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ตามปกติ คำนี้อ้างอิงถึงตัวกลางแม่เหล็กที่ห่อหุ้มในปลอกพลาสติกแข็งขนาด 3.5 ตารางนิ้วและหนา 2 มิลลิเมตร รวมทั้งเรียกว่า ดิสเก็ต 3.5 นิ้วสิ่งนี้สามารถเก็บข้อมูลได้ 1.44 เมกกะไบต์ (MB) ถึงแม้ว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจำนวนมากในวันนี้มาพร้อมกับไดร์ฟดิสเก็ต 3.5 นิ้ว แต่คอมพิวเตอร์ Note book และคอมพิวเตอร์ผู้บริหารระบบส่วนกลางไม่ได้ติดตั้งแล้ว
4. Download :  หมายถึง การคัดลอกแฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรม จากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเข้า มาในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรากำลังใช้อยู่ โดยผ่านทางโมเด็ม ((modem) เป็นต้นว่าคัดลอกจากคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเข้ามาเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ของเราเอง (เพื่อว่าภายหลังจะได้ใช้ตามลำพังได้)
5. Folder : หมายถึง ที่รวมกลุ่มแฟ้มข้อมูล เป็นศัพท์ที่ใช้เฉพาะกับเครื่อง แมคอินทอช ( พีซี ใช้ program group ) มีสัญรูปเหมือนกล่องมีสีเหลือง อนึ่ง ภายใต้เมนู File จะมีคำสั่งให้สร้างโฟลเดอร์ใหม่ได้ คือ New folder เมื่อใช้ คำสั่งนี้แล้ว จะได้สัญลักษณ์ใหม่มาอีกอันหนึ่ง ข้างล่างจะมีคำว่า "untitled folder" ลากสัญรูปแฟ้มข้อมูลที่ต้องการให้อยู่กลุ่มเดียวกันไปรวมไว้ภายในโฟลเดอร์นี้ เวลาต้องการเรียกใช้ จะช่วยให้หาได้ง่ายและสะดวก ควรจะตั้งชื่อโฟลเดอร์ใหม่นี้เสียด้วย
6. Font : หมายถึง ตัวอักษรที่ต่างกันทั้งแบบและขนาด มีไว้ให้เลือกมากมายเพื่อให้เหมาะกับงานพิมพ์ประเภทต่าง ๆ เช่น ป้ายโฆษณา การพาดหัวข่าว งานพิมพ์เอกสารต่าง ๆ แบบอักษรแต่ละแบบจะมีชื่อ เพื่อให้สะดวกในการเรียกใช้ ดูตัวอย่างข้างล่างนี้ abcd ABCD ABCD
7. Hardware : หมายถึง ส่วนกายภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ 1. หน่วยรับข้อมูล เช่น แป้นพิมพ์ หน่วยบันทึก 2. หน่วยความจำ เช่น ชิป (chip) หรือหน่วยความจำรอง เช่น จานบันทึก 3. หน่วยแสดงผล เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ ฯลฯ นอกจากนั้นยังรวมถึงอุปกรณ์ ประกอบอื่น ๆ เช่น โมเด็ม ดู software เปรียบ เทียบ
8. Icon : หมายถึง 1. หมายถึง สัญลักษณ์ที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายตัวอักษรภาพของอียิปต์โบราณ สัญลักษณ์เหล่านี้ใช้แทนคำสั่งต่าง ๆ โดยเฉพาะในระบบวินโดว์ บางทีก็ใช้เป็นทางลัดเข้าสู่คำสั่งปฏิบัติการได้ กล่าวคือ แทนที่จะกดเมาส์ที่คำสั่งในเมนูมาเป็นการกดเมาส์ ที่สัญรูปเหล่านี้แทน สัญรูปเหล่านี้จะเรียงอยู่ด้วยกันในแถบเครื่องมือ (toolbar) 2. สัญรูปในระบบวินโดว์ใช้แทนความหมายต่าง ๆ ได้มาก เช่น สารบบ ชนิดของแฟ้มข้อมูล เครื่องพิมพ์ หรือสัญลักษณ์ของเครื่องมือต่าง ๆ ที่มีไว้ให้เลือกใช้ เช่น ดินสอ แปรงทาสี สเปรย์ ฯลฯ
9. IP : หมายถึง 1. ย่อมาจาก internet protocol หมายถึง มาตรฐานที่สร้างขึ้นในเรื่องของการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างเครื่องปลายทาง (terminal) ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือตัวเลียนแบบ ดู TCP/IP ประกอบ 2. ย่อมาจาก intellectual property ที่แปลว่า ทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึง ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับ ซอฟต์แวร์ และ ฮาร์ดแวร์
10. LAN ( Local Area Network ) : ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ หมายถึง การต่อเชื่อมคอมพิว เตอร์หลายเครื่องเข้าด้วยกันเป็นเครือข่าย แต่ละเครื่องจะอยู่ในบริเวณใกล้ ๆ กัน เช่น ใน อาคารเดียวกัน คอมพิวเตอร์เหล่านี้จะทำงานร่วมกันได้ ใช้ข้อมูลหรือโปรแกรมร่วมกันได้ ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือใช้อุปกรณ์บางอย่างร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ นับเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี ชื่อของโปรแกรมระบบแลนที่โด่งดังก็มี Novell, Windows NT ดู WAN เปรียบเทียบ
11. Modem : ย่อมาจากคำ modulator - demodulator หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อการสื่อสารติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในระยะไกลโดยผ่านทางสายโทรศัพท์ เป็นตัวกล้ำและแยกสัญญาณแอนะล็อก (analog) และดิจิทัล (digital) ความเร็วในการทำงานของโมเด็มมีตั้งแต่ 1,200, 2,400, 9,600 และ 14,400 การจะใช้โมเด็มนั้น ต้องใช้ซอฟต์แวร์ร่วมด้วย การรับข้อมูลจากระบบเครือข่ายก็ต้องมีโมเด็ม โมเด็มนั้นอาจจะทำติดมาอยู่ภายในตัวเครื่อง หรือนำมาติดเพิ่มภายหลังก็ได้
12. Pop3 : Post Office Protocol มาตราฐานการสื่อสารประเภทหนึ่ง ใช้สำหรับรับส่งเมล์ และมีการพัฒนาถึงเวอร์ชั่น 3
13. Server : หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหลักในระบบเครือข่าย (network) หนึ่ง ๆ ทำหน้าที่เป็นตัวคุมคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ที่มาเชื่อมต่อในเครือข่ายเดียวกัน คอมพิวเตอร์ เครื่องนี้มีหน้าที่จัดการดูแลว่า คอมพิวเตอร์เครื่องใดขอใช้อุปกรณ์อะไร โปรแกรมอะไร แฟ้มข้อมูลใด เพื่อจะได้จัดการส่งต่อไปให้ ในขณะเดียวกัน ก็จะเป็นที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมที่คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายจะมาเรียกไปใช้ได้
14. prompt :ในระบบดอส หมายถึง สัญลักษณ์ > (มีลักษณะเหมือนเครื่องหมาย "มากกว่า" ในระบบ Compu Serve จะเป็นสัญลักษณ์ ! บางโปรแกรมอาจเป็นเพียงสัญลักษณ์ _ หรือ | ซึ่งจะกระพริบตลอดเวลา สัญลักษณ์เหล่านี้จะปรากฏบนจอภาพเพื่อบอกให้รู้ว่า บัดนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมแล้วที่จะให้ผู้ใช้สั่งการต่อไปได้
15. log-on : เริ่มทำงาน (ทางคอมพิวเตอร์) ล๊อคอิน
16. log-off : จบการทำงาน (ทางคอมพิวเตอร์) ล๊อคอ๊อฟ
17. offline : ไม่สามารถติดต่อได้ (ทางคอมพิวเตอร์)
18. Online : ออนไลน์ การเชื่อมต่อผ่านระบบเครือข่ายทางคอมพิวเตอร์
19. Software : หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาใดภาษาหนึ่ง ที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแปลและรับรู้ได้ คำนี้มักจะใช้เพื่อชี้ให้เห็นความแตกต่างเมื่อเทียบกับส่วนตัวเครื่องหรือฮาร์ดแวร์ (hardware) ดู hardware เปรียบเทียบ
20. String : หมายถึง การนำอักขระหลาย ๆ ตัวมารวมกันเข้าเป็นข้อมูลยาว ๆ
21. System : คำนี้มีความหมายหลายอย่าง ดังนี้ 1. เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมบริภัณฑ์รอบข้าง (peripheral equipment ) รวมทั้งซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้งานต่าง ๆ บรรลุเป้าหมาย 2. โปรแกรมที่ควบคุมการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ทุก ๆ ส่วน (ทั้งระบบ)ซึ่งเรียกว่า โปรแกรมระบบ (systems software) เช่น MS DOS, OS/2 เป็นต้น 3. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งหมดที่เชื่อมโยงอยู่ด้วยกัน
22. Text : หมายถึง ข้อมูลที่เป็นข้อความ ซึ่งหมายรวมถึง ตัวเลข ตัวอักษร เครื่องหมายต่าง ๆ แต่ไม่รวมภาพ กราฟ แผนภูมิ ฯ
23. RAM : ย่อมาจาก random access memory แปลว่า หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม เป็นหน่วยความจำประเภทหนึ่งที่เราสามารถเข้าถึงได้โดยวิธีการสุ่ม การเข้าถึงโดยสุ่ม หมายถึง การเข้าถึงหน่วยความจำทุกจุดได้ โดยใช้เวลาในการเข้าถึงเท่ากันหมด ไม่ต้องตั้งต้นใหม่ทุกครั้งแล้วรอไปตามลำดับ (อย่างแถบบันทึกหรือเทป) "แรม" จะหมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์วัดขนาดกันเป็นกิโลไบต์ หรือเมกะไบต์ ทำงานได้รวดเร็วมาก แต่เมื่อปิดไฟ ข้อมูลในนี้ก็จะหายไปหมด ไมโครคอมพิวเตอร์ที่ขายทั่วไปมักจะต้องมีข้อความบอกว่า มีแรมขนาดใด ยิ่งมีแรมมาก ก็จะยิ่งทำงานได้เร็ว ดู ROM เปรียบเทียบ
24. Record : 1. หมายถึงหน่วยหนึ่งของข้อมูลที่บันทึกไว้ในฐานหรือคลังข้อมูลโดยปกติ ระเบียนหนึ่งจะประกอบด้วยเขตข้อมูล (field) 1 เขตขึ้นไป เช่น ระเบียนของพนักงานของบริษัทแห่งหนึ่ง ประกอบด้วยเขตข้อมูล 10 เขต มี ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ วันเข้าทำงาน เงินเดือนที่ได้รับ ตำแหน่งปัจจุบัน ฯ เป็นต้น ดู field ประกอบ 2. ในอีกความหมายหนึ่ง แปลว่า บันทึกเก็บในหน่วยความจำหรือในสื่อที่ใช้เก็บข้อมูลชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น จานบันทึก (ในภาษาอังกฤษ มักใช้คำว่า write แทนมากกว่า)
25. การ์ดจอ : เป็นอุปกรณ์ที่มีความสลับซับซ้อนมากในปัจจุบัน ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลภายในแบบดิจิตอลเพื่อเปลี่ยนเป็นสัญญาณภาพส่งออกไปที่จอภาพ ส่วนประกอบหลักบนตัวการ์ดแสดงผลก็คือ ชิปประมวลผลกราฟฟิก (GPU)ซึ้งทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลทางด้านกราฟิกโดยเฉพาะ เช่น ชิปของ Nvidia และ ATI เป็นต้น
26. คอมโบไดรซ์ (Combo-Drive) : อุปกรณ์สำหรับอ่าน/เขียนแผ่น CD แต่ไม่รองรับการเขียนแผ่น DVD แต่อ่านแผ่น DVD ได้
27. ซอร์ฟแวร์ (Software) :หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้
 28. ซีดีรอมไดรซ์ (CD-ROM Drive) : เป็นสื่อในการเก็บข้อมูลแบบออปติคอล (Optical Storage) ใช้ลำแสงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูล แผ่นซีดีรอมมีลักษณะเป็นแผ่นจานกลมคล้ายแผ่นเสียงหรือแผ่นคอมแพคดิสก์สำหรับฟังเพลง ทำมาจากแผ่นพลาสติกเคลือบด้วยอลูมิเนียม เพื่อสะท้อนแสงเลเซอร์ที่ยิงมา เมื่อแสงเลเซอร์ที่ยิงมาสะท้อนกลับไป ที่ตัวอ่านข้อมูลที่เรียกว่า Photo Detector ก็อ่านข้อมูลที่ได้รับกลับมาว่าเป็นอะไร และส่งค่า 0 และ 1 ไปให้กลับซีพียู เพื่อนำไปประมวลผลต่อไปคะ  ทั้งนี้ซีดีรอม 1 แผ่นสามารถเก็บข้อมูลได้ประมาณ 700 MB นะคะ สามารถเก็บข้อมูลในรูปข้อความ ข่าวสาร รูปภาพ เสียง รวมทั้งภาพวีดิโอไว้ในแผ่นซึ่งพร้อมจะนำมาใช้ได้ทันที
29. ซีอาร์ที มอนิเตอร์ (CRT Monitor) : เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี การทำงานจะอาศัยหลอดแก้วแสดงผลขนาดใหญ่ที่เรียกว่าหลอดรังสีคาโธด ( cathode ray tube ) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกับหลอดภาพของโทรทัศน์ และตัวจอภาพก็มีลักษณะเหมือนกับจอภาพของโทรทัศน์ มีหลายขนาดตั้งแต่ 14,15,16,17,19,20 และ 21 นิ้ว เป็นต้น (แนวโน้มการใช้งานปัจจุบันจะเลือกใช้จอภาพที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานได้ดีกว่าจอภาพขนาดเล็ก โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้พื้นที่สำหรับทำงานบนจอภาพมาก ๆ เช่น การสร้างภาพกราฟิกหรือการออกแบบงาน 3 มิติ เป็นต้น)
30. ซีพียู (CPU) : เป็นคำที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต้องรู้จัก ย่อมาจาก Central Processing Unit แปลว่า
ตัวประมวลผลกลาง หมายถึงส่วนสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง ประกอบด้วยหน่วย ความจำ
หน่วยคำนวณ และหน่วยควบคุม เมื่อพูดถึง "ซีพียู" ของไมโครคอมพิวเตอร์ มักจะหมายถึงชิป (chip) ที่ใช้ ว่าเป็นเบอร์ 80286,  80386,  80486 หรือ เพนเทียม (pentium)
31. พอร์ต (Port) : เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างตัวคอมพิวเตอร์ กับอุปกรณ์ภายนอก ปกติพอร์ตจะอยู่ด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์
32. พาวเวอร์ซัฟฟลาย (Power Supply)  : เมิ่อพูดถึงกระแสไฟในเครื่องคอมพิวเตอร์ ต้องเข้าใจว่าคอมพิวเตอร์นั้นใช้ไฟกระแสดีซี (DC) ไม่ใช่กระแสเอซี (AC) ที่ออกจากปลั๊ก (คอมพิวเตอร์จะจัดการเปลี่ยนจาก AC เป็น DC ก่อน) สิ่งที่ต้องระมัดระวังเกี่ยวกับเรื่องกระแสไฟ ก็คือ ต้องแน่ใจว่ามีพอที่จะ เข้าไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของเครื่องให้พอ อย่างไรก็ตาม ควรคำนึงไว้ด้วยเสมอว่า การที่กระแสไฟไหลไม่สม่ำเสมอ จะมีผลเสียต่อตัวเครื่องมาก ควรมีการติดตั้งอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมในเรื่องนี้ด้วย ดู UPS ประกอบ
33. แฟลชไดรฟ์ (Flash Drive) :เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือไฟล์จากคอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา สะดวกในการพกพาติดตัว แต่ในขณะเดียวกันมีความจุสูง สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากตั้งแต่ 128 MB ถึง 4 GB และขนาดความจุข้อมูลก็ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
34. เมนด์บอร์ด/มาสเตอร์บอร์ด (Mainboard / Masterboard) : เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญรองมาจากซีพียู เมนบอร์ดทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและจัดการๆ ทำงานของ อุปกรณ์ชนิดต่างๆ แทบทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ไปจนถึงหน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลัก ฮาร์ดดิกส์ ระบบบัส บนเมนบอร์ดประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมาย  เมนบอร์ดที่ใช้งานในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่เป็นแบบ ATX เกือบทั้งหมดแล้ว  เทคโนโลยีของเมนบอร์ดเองก็ได้มีการพัฒนาไปมากเช่นกัน  ซึ่งมีเทคโนโลยีเข้ามาในการเพิมประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น  มีสีสันที่สวยงามโดยเฉพาะคนที่ชอบแต่งเครื่องของตัวเองจะเลือกสีสันที่มีความสวยงาม
35. ยูพีเอส (UPS) : หมายถึง แบตเตอรี่สำรองที่จะทำงานได้ทันทีที่ไฟดับ โดยปกติ แบตเตอรี่ขนาดนี้นั้นมีไฟไว้ใช้พอที่จะสั่งให้เก็บงาน (save) ที่ทำอยู่เท่านั้น ไม่ได้มีพอให้ใช้ต่อไป เมื่อบันทึกลงเก็บเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องรีบปิดเครื่อง (อย่างน้อยก็ช่วยไม่ให้ข้อมูลที่ทำไว้หายไปหมด)
36. ยูเอสบี (USB) : ย่อมาจาก Universal Serial Bus  คือ พอร์ท หรือช่องทางในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Printer, Modem , Mouse, Keyboard, Digital Camera เป็นต้น ระบบ USB นั้นนับว่าเป็นระบบที่ทันสมัยรองลงมาจาก Fire wire เนื่องจากรองรับอุปกรณ์ได้มากขึ้น และ ง่ายต่อการติดตั้ง มีความสามารถรองรับ Plug and Play จึงทำให้ USB เป็นที่นิยมอย่างมากใน ปัจจุบัน
37. แอลซีดี มอนิเตอร์ (LCD Monitor) : ใช้ทำจอภาพ มีลักษณะเป็นของเหลวใสเหมือนแก้วเจียรนัย อัดอยู่ระหว่างเนื้อแก้วสองชั้น เมื่อถูกกระตุ้นด้วยแสงจากภายนอก จะสะท้อนแสงออกมาเป็นมุมต่าง ๆ ใช้เป็นตัวแสดงอักขระและภาพ คอมพิวเตอร์ขนาดวางตักนิยมใช้จอภาพชนิดนี้ จอภาพนี้แม้จะใช้กำลังไฟฟ้าน้อยมาก แต่จะชัดเจนดี นิยมใช้กับเครื่องคำนวณที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ด้วย
38. ฮาร์ดดิกส์ (Harddisk) : คือ  อุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลได้มาก  สามารถเก็บได้อย่างถาวรโดยไม่จำเป็นต้องมีไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา  เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะไม่สูญหาย ดังนั้น  Hard Disk  จึงถูกจัดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บระบบปฏิบัติการ  โปรแกรม  และข้อมูลต่าง    เนื่องจาก  Hard Disk  เป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการอัพเกรดทำให้เทคโนโลยี  Hard Disk  ในปัจจุบันได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นการเลือกซื้อ  Hard Disk   จึงควรคำนึงซึ่งประสิทธิภาพที่จะได้รับจาก  Hard Disk
39. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) : อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน   
40. DIGITAL : เป็นลักษณะการเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีวิธีการเก็บได้เพียงสองสถานะ เช่น สถานะเปิดหรือปิด บวกหรือลบ เป็นต้น (คอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันจะเป็นคอมพิวเตอร์ดิจิทัลเสียร้อยละ 99 ฉะนั้น ถ้าข้อมูลเป็นแอนะล็อก (analog) ก็จะต้องเปลี่ยน เป็นดิจิทัลก่อน จึงจะส่งเข้าไปประมวลผลในคอมพิวเตอร์ได้ ) ในการทำงาน ระบบดิจิทัลจะให้ค่าที่เป็นตัวเลข ซึ่งย่อมแม่นยำกว่าระบบแอนะล็อก ดู analog เปรียบเทียบ
น.ส.สุภาวดี อาจวิชัย  เลขที่11
น.ส.อรญา คงเจริญ  เลขที่18

วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

งานที่ 2 :: หน่วยวัดความจุของข้อมูลในคอมพิวเตอร์

 
หน่วยวัดความจุของข้อมูลในคอมพิวเตอร์
 
1. แผ่นดิสเกตต์ ( Diskette ) เป็นหน่วยความจำที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล โดยใช้อำนาจแม่เหล็ก การใช้งานต้องมี Disk Drive เพื่อใช้อุปกรณ์ในการขับเคลื่อนแผ่นดิสก์ โดยแบ่งตำแหน่งพื้นผิวออกเป็นแทร็คและเซ็คเตอร์ แบ่งออกเป็น 3 ขนาด คือ
· แผ่นดิสก์ขนาด 8 นิ้ว ปัจจุบันไม่นิยมใช้
· แผ่นดิสก์ขนาด 5.25 นิ้ว สามารถบันทึกข้อมูล 2 ชนิดคือ 360 KB และ 1.2 MB ปัจจุบันไม่นิยมใช้
· แผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว สามารถบันทึกข้อมูล 2 ชนิดคือ 720 KB และ 1.44 MB นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน

รูปที่ 1.20 แผ่นดิสเกตต์

2. Handy Drive หรือ Flash Drive เป็นหน่วยความจำที่กำลังเป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบันเพราะมีขนาดเล็กมีความจุมาก ปัจจุบันมีความจุ 2 Gigabyte หรือมากกว่า

                                       รูปที่ 1.21 Handy Drive หรือ Flash Drive
3. แผ่น CD เป็นหน่วยความจำภายนอกที่นิยมใช้กันเนื่องจากมีราคาถูก ในการบันทึกข้อมูลต้องใช้เครื่องอ่านและเครื่องเขียนข้อมูล CD-ROM Drive ซึ่งมี 2 ชนิด คือแบบอ่านอย่างเดียวและทั้งอ่านและเขียนข้อมูลได้ด้วย

                                                    รูปที่ 1.22 แผ่น CD
                                                                  
หน่วยวัดความจุของข้อมูลในคอมพิวเตอร์
8 Bit เท่ากับ 1 Byte
1 Byte เท่ากับ 1 ตัวอักษร
1 Kilo Byte ( KB ) เท่ากับ 1,024 Byte
1 Megabyte ( MB ) เท่ากับ 1,024 KB
1 Gigabyte ( GB ) เท่ากับ 1,0 24 MB
1 Terabyte ( TB ) เท่ากับ 1,024 GB

จากความจุข้อมูลหน่วยความจำเล็กที่สุด คือ บิต BIT ( Binary Digit ) โดยใช้บิตแทน 1 ตัวอักขระ หรือ 1 ไบต์( Byte ) หน่วยที่ใหญ่ขึ้นมาอีกหน่อย คือ กิโลไบต์ ( Kilobyte ) โดยที่ 1 กิโลไบต์ มีค่าเท่ากับ 210 ไบต์ หรือ 1,0241 ไบต์ หน่วยความจำที่ใหญ่ขึ้นไปอีก เรียก
ว่า เมกะไบต์ กิกาไบต์ และเทราไบต์

4. ฮาร์ดดิสก์ ( Hard Disk ) เป็นจานแม่เหล็กชนิดแข็ง ติดแน่นไม่มีการเคลื่อนที่ สามารถบรรจุข้อมูลได้จำนวนมาก
                   รูปที่ 1.23 Hard Disk
ตอบคำถาม
 
1. หน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล คือหน่วยใด\
ตอบ= Bit
 
2. หน่วยที่ใหญ่ที่สุดของข้อมูล คือหน่วยใด
ตอบ= Terabyte
 
3. ฮาร์ดดิสก์ และ ฮาร์ดดิสก์ภายนอก (External hard disks) ต่างกันอย่างไร
ตอบ=แต่ต่างกันตรงที่ External Harddisk นี้ใช้เชื่อมต่อภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วน Harddisk ทั่วไปนั้น อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์

4.2000 KB = กี่ MB
ตอบ=  2MB
 
5. 4000 MB = กี่ GB
ตอบ= 4GB

6. 50000 GB = กี่ TB
ตอบ= 49TB





น.ส. อรญา  คงเจริญ    เลขที่ 18
น.ส. สุภาวดี  อาจวิชัย  เลขที่ 11